![Petzl VOLT Technical Notice Download Page 31](http://html1.mh-extra.com/html/petzl/volt/volt_technical-notice_1533629031.webp)
TECHNICAL NOTICE
VOLT - VOLT WIND version internationale
C0095800B (280819)
31
11. Sternal จุดผูกยึดหน้าอก
จุดผูกยึดหน้าอกอาจใช้เป็นจุดผูกยึดสำารองในการยับยั้งการตก ในกรณีที่จุดผูกยึดด้าน
หลังถูกกำาหนดว่าไม่เหมาะสมโดยผู้ควบคุมงาน และในสถานที่ที่ไม่มีโอกาสตกลงใน
ตำาแหน่งอื่นนอกจากการเหยียบเท้าลง การใช้งานเชิงปฏิบัติสำาหรับจุดผูกยึดที่หน้าอก
นั้นรวมถึง แต่ว่าไม่ได้จำากัดอยู่เพียงแต่การปีนบันไดพร้อมตัวนำาชนิดยับยั้งการตก การ
ปีนบันไดพร้อมเส้นเซฟยับยั้งการตกแบบดีดกลับอัตโนมัติที่ถูกผูกยึดไว้เหนือหัว การ
คงตำาแหน่งการทำางาน และ การทำางานด้วยระบบเชือก จุดผูกยึดหน้าอก ยังอาจใช้ใน
แบบเกี่ยวรั้งไปมา หรือการกู้ภัยด้วย
ในการตกขณะที่มีการรองรับโดยจุดผูกยึดหน้าอก สายรัดนิรภัยจะถูกออกแบบให้
ส่งผ่านแรงตกกระชากไปที่สายรัดไหล่สองข้างของผู้ใช้งาน และบริเวณรอบ ๆ โคน
ขาทั้งสอง
การรองรับผู้ใช้งาน เมื่อตกจากด้านหลัง ด้วยจุดผูกยึดหน้าอกจะมีผลทำาให้เกิดการ
ทรุดตัวนั่งลง หรือลำาตัวจะแกว่งไปพร้อมน้ำาหนักจะถูกทิ้งลงบนต้นขาทั้งสองข้าง ที่
สะโพกและบริเวณหลังด้านล่าง
การรองรับผู้ใช้งานขณะทำางานในตำาแหน่งโดยผูกจุดยึดหน้าอก จะส่งผลคล้ายกับที่
ร่างกายอยู่ในตำาแหน่งตั้งขึ้น
ถ้าจุดผูกยึดที่หน้าอกถูกใช้เพื่อการยับยั้งการตก ผู้ควบคุมงานจะต้องประเมินความ
เกี่ยวข้องโดยคำานวณว่าน้ำาหนักในการตกจะเพียงแค่เกิดขึ้นที่ตำาแหน่งเท้าเหยียบ
เท่านั้น ซึ่งผลนี้จะรวมถึงการจำากัดขอบเขตของระยะทางการตกที่จะเกิดขึ้นด้วย อาจ
เป็นไปได้ที่การใช้งานร่วมกันระหว่างจุดผูกยึดหน้าอกและวิธีการปรับของสายรัด
หน้าอกที่อาจทำาให้สายรัดหน้าอกเลื่อนขึ้นแล้วสะบัดตัวผู้ใช้งานขณะตก การไต่ลง
ขณะห้อยตัว ผู้ควบคุมงาน ควรพิจารณาถึงแบบของสายรัดนิรภัยเต็มตัวที่มีจุดผูกยึด
หน้าอกแบบติดยึดตายตัว สำาหรับการใช้ในลักษณะนี้
12. เกี่ยวกับตำาแหน่งหน้าท้อง
จุดผูกยึดด้านหน้า มีไว้เพื่อช่วยในการปีนขึ้นบันได เพื่อเชื่อมต่อกับตัวนำายับยั้งการ
ตก ในพื้นที่ที่ไม่มีโอกาสจะตกในทิศทางอื่นนอกเหนือจากการเหยียบเท้า หรืออาจใช้
สำาหรับการคงตำาแหน่งการทำางาน การรองรับผู้ใช้งานขณะทำางานในตำาแหน่งโดยผูก
จุดยึดด้านหน้า จะมีผลต่อตำาแหน่งการทรุดตัวนั่ง ด้วยส่วนบนของลำาตัวตั้งขึ้น โดยน้ำา
หนักตัวจะกดลงที่ต้นขาสองข้างและที่สะโพก เมื่อรองรับด้วยการติดยึดที่จุดยึดด้าน
หน้า การออกแบบของสายรัดนิรภัยเต็มตัว จะรองรับแรงกระชากที่ส่งไปยังรอบๆต้น
ขา และด้านใต้สะโพก โดยสายรัดรองรับกระดูกเชิงกราน
ถ้าจุดผูกยึดด้านหน้าถูกใช้เพื่อระบบยับยั้งการตก ผู้ควบคุมงานจะต้องประเมินความ
เกี่ยวข้องโดยคำานวณว่าน้ำาหนักในการตกจะเพียงแค่เกิดขึ้นที่ตำาแหน่งเท้าเหยียบ
เท่านั้น ซึ่งผลนี้จะรวมถึงการจำากัดขอบเขตของระยะทางการตกที่จะเกิดขึ้นด้วย
13. สายรัดไหล่สองข้าง
ส่วนประกอบในการติดยึดสายรัดไหล่จะต้องใช้เป็นคู่กัน และต้องสามารถใช้ติดยึด
เพื่อการกู้ภัย การเข้าไป/การดึงกลับมา จุดติดยึดสายรัดไหล่ จะต้องไม่ใช้งานในระบบ
ยับยั้งการตก แนะนำาว่าส่วนประกอบของจุดติดยึดสายรัดไหล่ ต้องใช้เชื่อมต่อกับส่วน
ประกอบของตัวแผ่ที่จับยึดสายรัดไหล่ของสายรัดนิรภัยเต็มตัวโดยแยกออกจากกัน
14. จุดผูกยึดเอว, ด้านหลัง
จุดผูกยึดเอว ด้านหลัง ควรใช้ตามลำาพังเพื่อการเกี่ยวรั้งไปมา ส่วนประกอบของจุดผูก
ยึดเอว ด้านหลังไม่ควรใช้เพื่อยับยั้งการตก ภายใต้สถานการณ์ที่ไม่สามารถใช้จุดผูก
ยึดเอว ด้านหลังในจุดมุ่งหมายอื่นนอกจากการเกี่ยวรั้งไปมา จุดผูกยึดเอว ด้านหลัง จะ
ใช้รับแรงส่วนน้อยที่จะส่งผ่านไปยังเอวของผู้ใช้งาน และจะไม่ใช้รับน้ำาหนักทั้งหมด
ของผู้ใช้งาน
15. ตำาแหน่งสะโพก
ส่วนประกอบของจุดผูกยึดที่สะโพกต้องใช้เป็นคู่กัน และจะใช้ตามลำาพังเพื่อการคง
ตำาแหน่งการทำางาน ส่วนประกอบของจุดผูกยึดที่สะโพก จะไม่ใช้เพื่อยับยั้งการตก จุด
ผูกยึดสะโพกใช้บ่อยครั้งสำาหรับคงตำาแหน่งการทำางาน โดยนักปีนต้นไม้ คนทำางาน
ปีนเสา ปีนโครงสร้าง และปีนฐานก่อแบบก่อสร้าง ผู้ใช้งานต้องได้รับการตักเตือน
เกี่ยวกับการใช้ส่วนประกอบผูกยึดสะโพก (หรือตำาแหน่งจุดแข็งอื่นๆบนสายรัดนิรภัย
เต็มตัว) เพื่อเก็บปลายสายรัดของเชือกสั้น เพราะสิ่งนี้อาจทำาให้พลาดพลั้งจนเกิด
อันตราย หรือ ในกรณีของขาของเชือกสั้นดูดซับแรง ที่อาจเป็นต้นเหตุของการถูกกด
แรงกระชากลงบนสายรัดนิรภัยเต็มตัวโดยส่งผ่านจากส่วนที่ไม่ได้ใช้งานของเชือกสั้น
16. ที่นั่งเพื่อการหยุดชั่วคราว
ส่วนประกอบจุดผูกยึดที่นั่ง จะต้องใช้เป็นคู่ และจะใช้เพื่อตำาแหน่งการทำางานเพียง
อย่างเดียวเท่านั้น ส่วนประกอบจุดผูกยึดที่นั่งจะไม่ใช้เพื่อยับยั้งการตก จุดผูกยึดที่
นั่ง จะใช้บ่อยในกรณีที่ผู้ใช้งานจะต้องห้อยตัวทำางานเป็นเวลานาน ช่วยให้ผู้ใช้งาน
สามารถนั่งห้อยตัวบนที่นั่งที่ยึดติดระหว่างจุดติดยึดสองจุด ตัวอย่างของการทำางาน
ประเภทนี้ ได้แก่ การเช็ดล้างกระจกบนอาคารใหญ่
การตรวจเช็คอุปกรณ์โดยผู้ใช้งาน การบำารุงรักษา และการจัดเก็บอุปกรณ์
ผู้ใช้งานในระบบยับยั้งการตก จะต้องทำาตามข้อมูลคู่มือของผู้ผลิต เกี่ยวกับการตรวจ
เช็คสภาพ บำารุงรักษาและการจัดเก็บอุปกรณ์ ผู้ใช้งานหรือผู้จัดการระบบงาน จะต้อง
เก็บรักษาคู่มือการใช้งานของผู้ผลิต และจัดไว้ให้ผู้ใช้งานทุกคนสามารถอ่านคู่มือ
การใช้งานได้ง่ายด้วย ศึกษาข้อกำาหนด ANSI/ASSE Z359.2 ถึงใจความสำาคัญของ
การจัดการ แผนป้องกันการตก และการตรวจเช็คสภาพ การบำารุงรักษา และการจัด
เก็บอุปกรณ์
1. ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตรวจสอบอุปกรณ์ที่ระบุไว้ในคู่มือการใช้งานของโรงงาน
ผู้ผลิต อุปกรณ์จะต้องได้รับการตรวจเช็คสภาพโดยผู้ใช้งานก่อนการใช้งานแต่ละครั้ง
และตรวจสอบเพิ่มเติมโดยผู้เชี่ยวชาญไม่ต่ำากว่า ปีละหนึ่งครั้ง เพื่อการ
- ตรวจเช็คว่าป้ายเครื่องหมายมีอยู่หรืออ่านได้ชัดเจน
- ตรวจเช็คสภาพของอุปกรณ์ว่ามีการได้รับผลกระทบ หรือยังมีสภาพเหมาะสมกับ
การใช้งานอยู่
- ตรวจหาข้อบกพร่อง หรือความเสียหายของวัสดุโลหะ พร้อมด้วย รอยแตกร้าว
ขอบมุมแหลมคม ผิดรูปร่าง คราบสนิม ถูกสัมผัสกับสารเคมี อุณหภูมิสูง การแก้ไข
ดัดแปลง และสภาพเก่าเกินไป
- ตรวจหาข้อบกพร่อง หรือความเสียหายของวัสดุสายรัด หรือเชือก สภาพหลุดลุ่ย
ของเส้นด้าย ขาดออกจากกัน หย่อนหลวม มีตำาหนิ ผูกกันเป็นกระจุก ปมเชือก แตก
ออก ดึงรั้ง แตกตะเข็บ ยืดยาวออกมาก สัมผัสสารเคมี เปื้อนดินโคลน สึกกร่อน ถูก
ดัดแปลง ขาดการหล่อลื่น เกินอายุการใช้งาน หรือสภาพเก่า
2. เกณฑ์การตรวจเช็คอุปกรณ์ ควรจัดทำาโดยการวางแผนของผู้ใช้งาน ดังเช่นเกณฑ์
การตรวจเช็คอุปกรณ์ ต้องเทียบเท่ากันหรือมากกว่าหลักเกณฑ์ตามมาตรฐานนี้ หรือ
ตามคู่มือของผู้ผลิต แล้วแต่ว่าอันไหนจะมากกว่า
3. เมื่อตรวจพบข้อบกพร่อง ความเสียหาย หรือการบำารุงรักษาอุปกรณ์ไม่ดีพอ
อุปกรณ์ต้องถูกแยกออกอย่างถาวรจากการใช้งาน หรือจนกว่าจะได้รับการบำารุงรักษา
อย่างพอเพียง จากโรงงานผู้ผลิตอันเป็นต้นกำาเหนิด หรือตามข้อกำาหนดของผู้ผลิต
ก่อนที่จะนำากลับมาใช้งานอีก
การบำารุงรักษา การจัดเก็บ
1. การบำารุงรักษาและการจัดเก็บอุปกรณ์ จะต้องจัดการโดยผู้ใช้งาน ตามวิธีที่ถูก
กำาหนดไว้ในคู่มือของโรงงานผู้ผลิต ปัญหาที่พบเป็นพิเศษ ซึ่งได้เกิดขึ้นจากสภาพการ
ใช้งาน จะต้องแก้ไขโดยโรงงานผู้ผลิต
2. อุปกรณ์ที่จำาเป็นต้อง หรือถึงเวลาต้องบำารุงรักษา จะต้องติดเครื่องหมาย “หยุดใช้
งาน” และแยกออกจากการใช้งาน
3. อุปกรณ์จะต้องถูกเก็บไว้ด้วยวิธีการป้องกันความเสียหายจากปัจจัยของสภาพ
แวดล้อม เช่น อุณหภูมิ แสงสว่าง UV สภาพเปียกชื้นเกินไป น้ำามัน สารเคมีและ
ละอองของมัน หรือชิ้นส่วนที่เสื่อมสภาพ
Summary of Contents for VOLT
Page 1: ...TECHNICAL NOTICE VOLT VOLT WIND version internationale C0095800B 280819 1 ...
Page 2: ...TECHNICAL NOTICE VOLT VOLT WIND version internationale C0095800B 280819 2 ...
Page 3: ...TECHNICAL NOTICE VOLT VOLT WIND version internationale C0095800B 280819 3 ...
Page 4: ...TECHNICAL NOTICE VOLT VOLT WIND version internationale C0095800B 280819 4 ...
Page 5: ...TECHNICAL NOTICE VOLT VOLT WIND version internationale C0095800B 280819 5 ...
Page 6: ...TECHNICAL NOTICE VOLT VOLT WIND version internationale C0095800B 280819 6 ...