TECHNICAL NOTICE
ASTRO BOD FAST
C0061900C (301018)
28
เครื่องหมายคำาเตือน
1. สถานการณ์เสี่ยงที่อาจจะเกิดอันตรายบาดเจ็บสาหัส หรือ เสียชีวิต 2. แสดงให้เห็นถึง
ความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ หรือ การบาดเจ็บ 3. ข้อมูลสำาคัญที่เกี่ยวกับประสิทธิภาพ
ในการใช้งาน หรือคุณสมบัติของอุปกรณ์ 4. ความเข้ากันไม่ได้ของอุปกรณ์
เครื่องหมายและข้อมูล
a. หมายเลขรับรองที่ผ่านการทดสอบที่ใช้ในการควบคุมการผลิตของ PPE นี้ - b. องค์
ประกอบของมาตรฐานรองรับ - c. การสืบมาตรฐาน ข้อมูลแหล่งกำาเนิด - d. ขนาด - e.
หมายเลขลำาดับ - f. ปีที่ผลิต - g. เดือนที่ผลิต - h. หมายเลขลำาดับการผลิต - i. หมายเลข
กำากับตัวอุปกรณ์ - j. มาตรฐาน - k. อ่านคู่มือการใช้โดยละเอียด - l. ข้อมูลระบุรุ่น - m.
ค่าของการรับแรงได้สูงสุด - n. ที่อยู่ของโรงงานผู้ผลิต - o. วันที่ของการผลิต (เดือน/ปี)
ภาคผนวก A - ANSI
ANSI/ASSE Z359 เป็นมาตรฐานที่ว่าด้วย การใช้งานอย่างเหมาะสม และการดูแลรักษาสาย
รัดนิรภัยแบบเต็มตัว
หมายเหตุ ข้อมูลนี้เป็นข้อกำาหนดทั่วไปของ ANSI/ASSE Z359 โรงงานผู้ผลิตอุปกรณ์
อาจต้องกำาหนดข้อมูลที่เข้มงวด เพื่อกวดขันการควบคุมการใช้อุปกรณ์ที่ผลิตมา โดยดู
จากคู่มือการใช้งานของผู้ผลิต
1. เป็นสิ่งสำาคัญ ที่ผู้ใช้อุปกรณ์ชนิดนี้ จะต้องได้รับการฝึกฝนและรู้วิธีการใช้งาน
อย่างพอเพียง รวมทั้งรายละเอียดของอุปกรณ์ เพื่อความปลอดภัยในการใช้อุปกรณ์ที่
เกี่ยวข้องกับการทำางาน ANSI/ASSE Z359.2 มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดการวางแผน
การป้องกันการตก กำาหนดคู่มือและสิ่งที่ต้องปฏิบัติของนายจ้างในการวางแผนป้องกัน
การตก รวมทั้งวิธีการ หน้าที่และการฝึกฝน ขั้นตอนการดำาเนินการป้องกันการตก การ
จำากัดและควบคุมความเสี่ยงต่อการตก วางแผนการกู้ภัย การตรวจสอบข้อเท็จจริงจาก
สิ่งที่เกิดขึ้น และการประเมินผล
2. การเลือกใช้สายรัดนิรภัยที่เหมาะสม เป็นส่วนประกอบที่สำาคัญที่ช่วยให้การทำางาน
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ใช้จะต้องได้รับการฝึกฝนและเลือกใช้สายรัดที่มีขนาดพอดี
และดูแลรักษาสายรัดนิรภัยให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานตลอดเวลา
3. ผู้ใช้ต้องทำาตามคู่มือการใช้งานของผู้ผลิตเพื่อความเหมาะสมของสภาพและขนาด
รวมทั้งการดูแลรักษาให้แน่ใจว่าการต่อยึดของหัวเข็มขัดอยู่ในตำาแหน่งที่ถูกต้อง สาย
รัดขา และสายรัดไหล่อยู่ในตำาแหน่งที่ให้ความสบายตลอดเวลา สายรัดอกอยู่ในบริเวณ
ส่วนกลางของหน้าอก และสายรัดขาได้จัดวางในตำาแหน่งที่สบายและหลีกเลี่ยงต่อการ
ไปเสียดสีต่ออวัยวะสืบพันธุ์หากมีการตกเกิดขึ้น
4. สายรัดนิรภัยเต็มตัวตามมาตรฐาน ANSI/ASSE Z359.11 ถูกเตรียมมาเพื่อใช้ร่วมกับ
ส่วนประกอบอื่นในระบบยับยั้งการตก เพื่อจำากัดค่าสูงสุดของแรงตกกระชากให้ไม่เกิน
1800 ปอนด์ (8 kN) หรือน้อยกว่านั้น
5. การไม่อาจทนต่อภาวะการห้อยตัวเป็นเวลานาน ซึ่งถูกเรียกว่า ภาวะเลือดคั่งจากการ
ห้อยตัวเป็นเวลานาน Suspension trauma หรือ Orthostatic intolerance นั้น เป็นสภาวะ
ร้ายแรงที่สามารถควบคุมให้ไม่เกิดขึ้นได้ด้วยการใช้สายรัดสะโพกที่ถูกออกแบบมาเป็น
อย่างดี เอื้อให้สามารถกู้ภัยได้ง่าย และ มีระบบคลายตัวภายหลังจากการตก ผู้ใช้งาน
ที่มีสติและรู้สึกตัวอาจจะปล่อยระบบคลายตัว เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานลดการรัดตึงรอบๆ
โคนขา ช่วยให้เลือดไหลเวียน ซึ่งสามารถช่วยหยุดยั้งอาการเลือดคั่งจากการห้อยตัวอยู่
ได้ ชิ้นส่วนสำาหรับผูกยึดที่ยื่นออกมานั้นไม่ได้ออกแบบมาเพื่อติดโดยตรงเข้ากับจุดผูก
หรือตัวล็อคเชื่อมต่อของจุดผูกสำาหรับการป้องกันการตก ตัวดูดซับแรงตกกระชาก
ต้องใช้เพื่อจำากัดค่าสูงสุดของแรงตกกระชากให้ไม่เกิน 1800 ปอนด์ (8 kN) ความยาว
ของชิ้นส่วนที่ต่อยื่นออกมาอาจมีผลต่อระยะทางของการตก และการคำานวณระยะ
ห่างของการตก
6. สายรัดนิรภัยเต็มตัว (FBH) ยืดขยายออก จำานวนของส่วนประกอบ FBH ของระบบ
ยับยั้งการตกจะยืดขยายออกและผิดรูปร่างในขณะที่ตก ซึ่งมีส่วนต่อการขยายตัวของ
ระบบในการหยุดการตก เป็นสิ่งสำาคัญที่ต้องนับรวมการขยายเพิ่มของ FBH ที่เกิดขึ้น
เข้าในระยะทางของการตกด้วย เช่นเดียวกับความยาวของตัวล็อคเชื่อมต่อของ FBH
การติดยึด FBH กับตัวผู้ใช้งานและปัจจัยอื่นทั้งหมด ที่นำามาคิดคำานวณหาผลรวมของ
ระยะทางเพื่อเป็นองค์ประกอบในระบบยับยั้งการตก
7. ในขณะที่ไม่มีการใช้งาน ขาทั้งสองของเชือกสั้นดูดซับแรงที่ติดยึดอยู่กับ D-ring ของ
สายรัดนิรภัย ไม่ควรติดยึดกับส่วนประกอบของตำาแหน่งการทำางาน หรือส่วนประกอบ
โครงสร้างอื่นๆของสายรัดนิรภัย นอกจากจะได้รับความยินยอมจากผู้ควบคุมหรือจาก
โรงงานผู้ผลิตเชือกสั้นดูดซับแรงนั้น ข้อมูลนี้สำาคัญอย่างมากโดยเฉพาะในการใช้เชือก
สั้นดูดซับแรงชนิด Y-style เพราะในบางกรณี [สภาวะ อันตราย] แรงกระชากจะถูกส่ง
ถึงตัวผู้ใช้งานผ่านทางขาของเชือกสั้นที่ยังไม่ได้ถูกใช้งาน ถ้ามันไม่ถูกปลดออกจากสาย
รัดนิรภัย ตามปกติเชือกสั้นดูดซับแรงตกกระชากจะถูกติดอยู่ที่บริเวณหน้าอก เพื่อช่วย
ลดอันตรายจากการผิดพลาดและการพันกันยุ่งเหยิง
8. ปลายสายรัดที่ปล่อยไว้หลวมๆ อาจไปเกี่ยวเข้ากับเครื่องจักร หรือเป็นต้นเหตุของ
อุบัติเหตุจากการปล่อยสายรัดโดยไม่ปรับให้กระชับเข้าที่ สายรัดนิรภัยเต็มตัว จะต้องมี
ที่เก็บปลายสายรัด หรือส่วนประกอบที่มีไว้เพื่อควบคุมปลายสายรัดที่ปล่อยออกมา
9. ตามลักษณะของห่วงคล้องแบบอ่อนนุ่ม แนะนำาให้ใช้เชื่อมต่อกับห่วงคล้องแบบ
อ่อนนุ่มด้วยกัน หรือกับคาราไบเนอร์เท่านั้น ห่วงล็อค snap hooks ไม่ควรใช้โดยไม่ผ่าน
การรับรองให้ใช้งานโดยโรงงานผู้ผลิต
Sections 10-16 ได้อธิบายข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับตำาแหน่ง และการใช้จุดผูกยึดต่างๆ ที่มีอยู่
บน FBH (full-body harness)
10. Dorsal จุดผูกยึดด้านหลัง
ส่วนประกอบของจุดผูกยึดตำาแหน่งด้านหลัง จะใช้เป็นจุดผูกยึดหลักในระบบยับยั้งการ
ตก ยกเว้นมีข้อระบุให้เลือกใช้จุดผูกยึดอื่นแทน จุดผูกยึดด้านหลัง อาจใช้เพื่อการเกี่ยว
รั้งไปมา หรือเพื่อการกู้ภัย ในขณะรองรับน้ำาหนักที่จุดผูกยึดด้านหลัง และเกิดการตก
ขึ้น สายรัดนิรภัยเต็มตัวถูกออกแบบให้แรงตกกระชากไปอยู่ที่สายรัดไหล่ทั้งสองข้างที่
ทำาหน้าที่รองรับตัวผู้ใช้งาน และรอบๆโคนขาทั้งสองข้าง การรองรับน้ำาหนักผู้ใช้งาน
จากการตก โดยจุดผูกยึดด้านหลัง จะมีผลให้ร่างกายอยู่ในแนวตั้งโดยโน้มเอียงไปด้าน
หน้า ด้วยแรงกระชากจะกดลงที่ตำาแหน่งต่ำากว่าไหล่ พิจารณาอย่างถี่ถ้วนเมื่อจะเลือก
ใช้ระหว่างชิ้นส่วนจุดผูกยึดด้านหลังแบบเลื่อนได้ และ แบบอยู่กับที่ จุดผูกยึดด้านหลัง
แบบเลื่อนได้ จะง่ายต่อการปรับขนาดที่แตกต่างกันของผู้ใช้งาน และช่วยผ่อนคลายใน
ตำาแหน่งการตกแนวดิ่งได้มากกว่า แต่อาจเพิ่มการยืดขยายของ FBH มากขึ้น
11. Sternal จุดผูกยึดหน้าอก
จุดผูกยึดหน้าอกอาจใช้เป็นจุดผูกยึดสำารองในการยับยั้งการตก ในกรณีที่จุดผูกยึดด้าน
หลังถูกกำาหนดว่าไม่เหมาะสมโดยผู้ควบคุมงาน และในสถานที่ที่ไม่มีโอกาสตกลงใน
ตำาแหน่งอื่นนอกจากการเหยียบเท้าลง การใช้งานเชิงปฏิบัติสำาหรับจุดผูกยึดที่หน้าอก
นั้นรวมถึง แต่ว่าไม่ได้จำากัดอยู่เพียงแต่การปีนบันไดพร้อมตัวนำาชนิดยับยั้งการตก การ
ปีนบันไดพร้อมเส้นเซฟยับยั้งการตกแบบดีดกลับอัตโนมัติที่ถูกผูกยึดไว้เหนือหัว การ
คงตำาแหน่งการทำางาน และ การทำางานด้วยระบบเชือก จุดผูกยึดหน้าอก ยังอาจใช้ใน
แบบเกี่ยวรั้งไปมา หรือการกู้ภัยด้วย
ในการตกขณะที่มีการรองรับโดยจุดผูกยึดหน้าอก สายรัดนิรภัยจะถูกออกแบบให้ส่ง
ผ่านแรงตกกระชากไปที่สายรัดไหล่สองข้างของผู้ใช้งาน และบริเวณรอบ ๆ โคนขา
ทั้งสอง
การรองรับผู้ใช้งาน เมื่อตกจากด้านหลัง ด้วยจุดผูกยึดหน้าอกจะมีผลทำาให้เกิดการทรุด
ตัวนั่งลง หรือลำาตัวจะแกว่งไปพร้อมน้ำาหนักจะถูกทิ้งลงบนต้นขาทั้งสองข้าง ที่สะโพก
และบริเวณหลังด้านล่าง
การรองรับผู้ใช้งานขณะทำางานในตำาแหน่งโดยผูกจุดยึดหน้าอก จะส่งผลคล้ายกับที่
ร่างกายอยู่ในตำาแหน่งตั้งขึ้น
ถ้าจุดผูกยึดที่หน้าอกถูกใช้เพื่อการยับยั้งการตก ผู้ควบคุมงานจะต้องประเมินความ
เกี่ยวข้องโดยคำานวณว่าน้ำาหนักในการตกจะเพียงแค่เกิดขึ้นที่ตำาแหน่งเท้าเหยียบเท่านั้น
ซึ่งผลนี้จะรวมถึงการจำากัดขอบเขตของระยะทางการตกที่จะเกิดขึ้นด้วย อาจเป็นไป
ได้ที่การใช้งานร่วมกันระหว่างจุดผูกยึดหน้าอกและวิธีการปรับของสายรัดหน้าอกที่
อาจทำาให้สายรัดหน้าอกเลื่อนขึ้นแล้วสะบัดตัวผู้ใช้งานขณะตก การไต่ลง ขณะห้อยตัว
ผู้ควบคุมงาน ควรพิจารณาถึงแบบของสายรัดนิรภัยเต็มตัวที่มีจุดผูกยึดหน้าอกแบบติด
ยึดตายตัว สำาหรับการใช้ในลักษณะนี้
12. Frontal จุดผูกยึดด้านหน้า
จุดผูกยึดด้านหน้ามีไว้เพื่อใช้กับการปีนขึ้นบันได เพื่อเชื่อมต่อกับตัวนำายับยั้งการตก ใน
พื้นที่ที่ไม่มีโอกาสจะตกในทิศทางอื่นนอกเหนือจากการเหยียบเท้า หรืออาจใช้สำาหรับ
การคงตำาแหน่งการทำางาน การรองรับผู้ใช้งานขณะทำางานในตำาแหน่งโดยผูกจุดยึดด้าน
หน้า จะมีผลต่อตำาแหน่งการทรุดตัวนั่ง ด้วยส่วนบนของลำาตัวตั้งขึ้น โดยน้ำาหนักตัว
จะกดลงที่ต้นขาสองข้างและที่สะโพก เมื่อรองรับด้วยการติดยึดที่จุดยึดด้านหน้า การ
ออกแบบของสายรัดนิรภัยเต็มตัว จะรองรับแรงกระชากที่ส่งไปยังรอบๆต้นขา และ
ด้านใต้สะโพก โดยสายรัดรองรับกระดูกเชิงกราน
ถ้าจุดผูกยึดด้านหน้าถูกใช้เพื่อระบบยับยั้งการตก ผู้ควบคุมงานจะต้องประเมินความ
เกี่ยวข้องโดยคำานวณว่าน้ำาหนักในการตกจะเพียงแค่เกิดขึ้นที่ตำาแหน่งเท้าเหยียบเท่านั้น
ซึ่งผลนี้จะรวมถึงการจำากัดขอบเขตของระยะทางการตกที่จะเกิดขึ้นด้วย
13. Shoulder สายรัดไหล่
ส่วนประกอบในการติดยึดสายรัดไหล่จะต้องใช้เป็นคู่กัน และต้องสามารถใช้ติดยึด
เพื่อการกู้ภัย การเข้าไป/การดึงกลับมา จุดติดยึดสายรัดไหล่ จะต้องไม่ใช้งานในระบบ
ยับยั้งการตก แนะนำาว่าส่วนประกอบของจุดติดยึดสายรัดไหล่ ต้องใช้เชื่อมต่อกับส่วน
ประกอบของตัวแผ่ที่จับยึดสายรัดไหล่ของสายรัดนิรภัยเต็มตัวโดยแยกออกจากกัน
14. Waist, rear จุดผูกยึดเอว ด้านหลัง
จุดผูกยึดเอว ด้านหลัง ควรใช้ตามลำาพังเพื่อการเกี่ยวรั้งไปมา ส่วนประกอบของจุดผูก
ยึดเอว ด้านหลังไม่ควรใช้เพื่อยับยั้งการตก ภายใต้สถานการณ์ที่ไม่สามารถใช้จุดผูก
ยึดเอว ด้านหลังในจุดมุ่งหมายอื่นนอกจากการเกี่ยวรั้งไปมา จุดผูกยึดเอว ด้านหลัง จะ
ใช้รับแรงส่วนน้อยที่จะส่งผ่านไปยังเอวของผู้ใช้งาน และจะไม่ใช้รับน้ำาหนักทั้งหมด
ของผู้ใช้งาน
15. Hip จุดผูกยึดสะโพก
ส่วนประกอบของจุดผูกยึดที่สะโพกต้องใช้เป็นคู่กัน และจะใช้ตามลำาพังเพื่อการคง
ตำาแหน่งการทำางาน ส่วนประกอบของจุดผูกยึดที่สะโพก จะไม่ใช้เพื่อยับยั้งการตก จุด
ผูกยึดสะโพกใช้บ่อยครั้งสำาหรับคงตำาแหน่งการทำางาน โดยนักปีนต้นไม้ คนทำางานปีน
เสา ปีนโครงสร้าง และปีนฐานก่อแบบก่อสร้าง ผู้ใช้งานต้องได้รับการตักเตือนเกี่ยวกับ
การใช้ส่วนประกอบผูกยึดสะโพก (หรือตำาแหน่งจุดแข็งอื่นๆบนสายรัดนิรภัยเต็มตัว)
เพื่อเก็บปลายสายรัดของเชือกสั้น เพราะสิ่งนี้อาจทำาให้พลาดพลั้งจนเกิดอันตราย หรือ
ในกรณีของขาของเชือกสั้นดูดซับแรง ที่อาจเป็นต้นเหตุของการถูกกดแรงกระชากลง
บนสายรัดนิรภัยเต็มตัวโดยส่งผ่านจากส่วนที่ไม่ได้ใช้งานของเชือกสั้น
16. Suspension seat จุดผูกยึดห้อยที่นั่ง
ส่วนประกอบจุดผูกยึดที่นั่ง จะต้องใช้เป็นคู่ และจะใช้เพื่อตำาแหน่งการทำางานเพียง
อย่างเดียวเท่านั้น ส่วนประกอบจุดผูกยึดที่นั่งจะไม่ใช้เพื่อยับยั้งการตก จุดผูกยึดที่นั่ง
จะใช้บ่อยในกรณีที่ผู้ใช้งานจะต้องห้อยตัวทำางานเป็นเวลานาน ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถ
นั่งห้อยตัวบนที่นั่งที่ยึดติดระหว่างจุดติดยึดสองจุด ตัวอย่างของการทำางานประเภทนี้
ได้แก่ การเช็ดล้างกระจกบนอาคารใหญ่
การตรวจเช็คอุปกรณ์โดยผู้ใช้งาน การบำารุงรักษา และการจัดเก็บอุปกรณ์
ผู้ใช้งานในระบบยับยั้งการตก จะต้องทำาตามข้อมูลคู่มือของผู้ผลิต เกี่ยวกับการตรวจ
เช็คสภาพ บำารุงรักษาและการจัดเก็บอุปกรณ์ ผู้ใช้งานหรือผู้จัดการระบบงาน จะต้อง
เก็บรักษาคู่มือการใช้งานของผู้ผลิต และจัดไว้ให้ผู้ใช้งานทุกคนสามารถอ่านคู่มือการใช้
งานได้ง่ายด้วย ศึกษาข้อกำาหนด ANSI/ASSE Z359.2 ถึงใจความสำาคัญของการจัดการ
แผนป้องกันการตก และการตรวจเช็คสภาพ การบำารุงรักษา และการจัดเก็บอุปกรณ์
1. ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตรวจสอบอุปกรณ์ที่ระบุไว้ในคู่มือการใช้งานของโรงงาน
ผู้ผลิต อุปกรณ์จะต้องได้รับการตรวจเช็คสภาพโดยผู้ใช้งานก่อนการใช้งานแต่ละครั้ง
และตรวจสอบเพิ่มเติมโดยผู้เชี่ยวชาญไม่ต่ำากว่า ปีละหนึ่งครั้ง เพื่อการ
- ตรวจเช็คว่าป้ายเครื่องหมายมีอยู่หรืออ่านได้ชัดเจน
- ตรวจเช็คสภาพของอุปกรณ์ว่ามีการได้รับผลกระทบ หรือยังมีสภาพเหมาะสมกับ
การใช้งานอยู่
- ตรวจหาข้อบกพร่อง หรือความเสียหายของวัสดุโลหะ พร้อมด้วย รอยแตกร้าว ขอบ
มุมแหลมคม ผิดรูปร่าง คราบสนิม ถูกสัมผัสกับสารเคมี อุณหภูมิสูง การแก้ไขดัดแปลง
และสภาพเก่าเกินไป
- ตรวจหาข้อบกพร่อง หรือความเสียหายของวัสดุสายรัด หรือเชือก สภาพหลุดลุ่ยของ
เส้นด้าย ขาดออกจากกัน หย่อนหลวม มีตำาหนิ ผูกกันเป็นกระจุก ปมเชือก แตกออก ดึง
รั้ง แตกตะเข็บ ยืดยาวออกมาก สัมผัสสารเคมี เปื้อนดินโคลน สึกกร่อน ถูกดัดแปลง
ขาดการหล่อลื่น เกินอายุการใช้งาน หรือสภาพเก่า
2. เกณฑ์การตรวจเช็คอุปกรณ์ ควรจัดทำาโดยการวางแผนของผู้ใช้งาน ดังเช่นเกณฑ์การ
ตรวจเช็คอุปกรณ์ ต้องเทียบเท่ากันหรือมากกว่าหลักเกณฑ์ตามมาตรฐานนี้ หรือตาม
คู่มือของผู้ผลิต แล้วแต่ว่าอันไหนจะมากกว่า
3. เมื่อตรวจพบข้อบกพร่อง ความเสียหาย หรือการบำารุงรักษาอุปกรณ์ไม่ดีพอ อุปกรณ์
ต้องถูกแยกออกอย่างถาวรจากการใช้งาน หรือจนกว่าจะได้รับการบำารุงรักษาอย่างพอ
เพียง จากโรงงานผู้ผลิตอันเป็นต้นกำาเหนิด หรือตามข้อกำาหนดของผู้ผลิต ก่อนที่จะนำา
กลับมาใช้งานอีก
การบำารุงรักษา การจัดเก็บ
1. การบำารุงรักษาและการจัดเก็บอุปกรณ์ จะต้องจัดการโดยผู้ใช้งาน ตามวิธีที่ถูก
กำาหนดไว้ในคู่มือของโรงงานผู้ผลิต ปัญหาที่พบเป็นพิเศษ ซึ่งได้เกิดขึ้นจากสภาพการ
ใช้งาน จะต้องแก้ไขโดยโรงงานผู้ผลิต
2. อุปกรณ์ที่จำาเป็นต้อง หรือถึงเวลาต้องบำารุงรักษา จะต้องติดเครื่องหมาย “หยุดใช้
งาน” และแยกออกจากการใช้งาน
3. อุปกรณ์จะต้องถูกเก็บไว้ด้วยวิธีการป้องกันความเสียหายจากปัจจัยของสภาพ
แวดล้อม เช่น อุณหภูมิ แสงสว่าง UV สภาพเปียกชื้นเกินไป น้ำามัน สารเคมีและละออง
ของมัน หรือชิ้นส่วนที่เสื่อมสภาพ
Содержание Astro Bod Fast
Страница 1: ...TECHNICAL NOTICE ASTRO BOD FAST C0061900C 301018 1...
Страница 2: ...TECHNICAL NOTICE ASTRO BOD FAST C0061900C 301018 2...
Страница 3: ...TECHNICAL NOTICE ASTRO BOD FAST C0061900C 301018 3...
Страница 4: ...TECHNICAL NOTICE ASTRO BOD FAST C0061900C 301018 4...
Страница 5: ...TECHNICAL NOTICE ASTRO BOD FAST C0061900C 301018 5...
Страница 19: ...TECHNICAL NOTICE ASTRO BOD FAST C0061900C 301018 19 12 13 14 15 Y 16 ANSI ASSE Z359 2 1 2 ANSI 3 1 2 3...