![Petzl VOLT Скачать руководство пользователя страница 30](http://html1.mh-extra.com/html/petzl/volt/volt_technical-notice_1533629030.webp)
TECHNICAL NOTICE
VOLT - VOLT WIND version internationale
C0095800B (280819)
30
TH
คู่มือการใช้งานนี้ อธิบายให้ทราบถึงวิธีการใช้อุปกรณ์อย่างถูกต้อง เฉพาะข้อมูลทาง
เทคนิคและการใช้งานบางอย่างเท่านั้นที่ได้อธิบายไว้
เครื่องหมายคำาเตือนได้บอกให้คุณทราบถึงอันตรายบางส่วนที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้
งานของอุปกรณ์ แต่ไม่อาจบอกได้ทั้งหมด ตรวจเช็คที่ Petzl.com เพื่อหาข้อมูลเพิ่ม
เติมล่าสุด
เป็นความรับผิดชอบของคุณในการระมัดระวังต่อคำาเตือนและการใช้อุปกรณ์อย่าง
ถูกต้อง ข้อผิดพลาดในการใช้อุปกรณ์จะทำาให้เกิดอันตราย ติดต่อ Petzl หรือตัวแทน
จำาหน่ายถ้ามีข้อสงสัย หรือไม่เข้าใจข้อความในคู่มือนี้
1. ส่วนที่เกี่ยวข้องกัน
อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล (PPE) ใช้สำาหรับป้องกันการตก
สายรัดนิรภัยแบบเต็มตัว เพื่อยับยั้งการตกและเพื่อคงตำาแหน่งการทำางาน
อุปกรณ์นี้จะต้องไม่ใช้รับน้ำาหนักเกินกว่าที่ระบุไว้หรือไม่นำาไปใช้ในวัตถุประสงค์
อย่างอื่นนอกเหนือจากที่ได้ถูกออกแบบมา
ความรับผิดชอบ
คำาเตือน
กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้อุปกรณ์นี้ เป็นสิ่งที่เป็นอันตราย
ผู้ใช้ต้องมีความรับผิดชอบต่อการกระทำาการตัดสินใจและความปลอดภัย
ก่อนการใช้อุปกรณ์นี้ จะต้อง
- อ่านและทำาความเข้าใจคู่มือการใช้งาน
- การฝึกฝนโดยเฉพาะเพื่อการใช้งานที่ถูกต้อง
- ทำาความคุ้นเคยกับความสามารถและข้อจำากัดในการใช้งานของมัน
- เข้าใจและยอมรับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง
การขาดความระมัดระวังและละเลยต่อข้อมูลนี้ อาจมีผลให้เกิดการบาดเจ็บสาหัสหรืออาจ
ถึงแก่ชีวิต
อุปกรณ์นี้จะต้องถูกใช้งานโดยผู้ที่มีความสามารถเพียงพอและมีความรับผิดชอบหรือ
ใช้ในสถานที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบโดยตรงหรือควบคุมได้โดยผู้เชี่ยวชาญ
เป็นความรับผิดชอบของผู้ใช้งานต่อวิธีการใช้ การตัดสินใจความปลอดภัย และ
ยอมรับในผลที่เกิดขึ้นจากวิธีการนั้น ไม่ควรใช้อุปกรณ์นี้ถ้าคุณไม่สามารถ หรือไม่
อยู่ในสภาวะที่จะรับผิดชอบต่อความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นหรือไม่เข้าใจข้อความในคู่มือ
การใช้งาน
2. ชื่อของส่วนประกอบ
(1) A/2 จุดผูกยึดตำาแหน่งหน้าอก, (2) จุดผูกยึดด้านหลังสำาหรับอุปกรณ์ยับยั้งการ
ตกแบบดึงกลับ, (3) จุดผูกยึดต้นคอด้านหลัง, (4) จุดผูกยึดตำาแหน่งเอวด้่านหลัง, (5)
จุดผูกยึดด้านข้างสองข้าง, (6) สายรัดไหล่สองข้าง, (7) สายรัดโคนขาสองข้าง, (8)
FAST LT PLUS หัวเข็มขัดล็อคอัตโนมัติที่โคนขาสองด้าน, (9) FAST LT หัวเข็มขัด
ล็อคอัตโนมัติที่สายรัดอก, (10) FAST LT PLUS หัวเข็มขัดล็อคอัตโนมัติที่สายรัด
รอบเอว, (11) หัวเข็มขัดแบบ DOUBLEBACK ที่สายรัดเอว, (12) หัวเข็มขัดแบบ
DOUBLEBACK ที่สายรัดด้านหลัง, (13) หัวเข็มขัดแบบ DOUBLEBACK ที่สายรัด
ไหล่สองข้าง, (14) หัวเข็มขัด DOUBLEBACK แบบปรับที่ตำาแหน่งสูงของสายรัด
โคนขา, (15) อีลาสติคเก็บสายรัด, (16) พลาสติคเก็บสายรัด, (17) ห่วงคล้องอุปกรณ์,
(18) ที่ยึดตัวล็อคเชือกสั้นนิรภัยกันตก์, (19) ช่องสำาหรับติดยึดที่นั่ง, (20) แถบเวลโค
รสำาหรับเก็บ ASAP’SORBER, (21) ตัวบ่งชี้การตก
วัสดุประกอบหลัก
สายรัด โพลีเอสเตอร์
หัวเข็มขัด FAST LT, FAST LT PLUS และ DOUBLEBACK: เหล็ก, อลูมีนั่มอัล
ลอยด์.
ห่วงสำาหรับผูกยึดด้านหลัง อลูมีนั่มอัลลอยด์
3. การตรวจสอบ จุดตรวจสอบ
ความปลอดภัยของคุณขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของอุปกรณ์ของคุณ
Petzl แนะนำาให้ตรวจเช็ครายละเอียดของอุปกรณ์โดยผู้เชี่ยวชาญ อย่างน้อยทุก 12
เดือน (ขึ้นอยู่กับข้อกำาหนดกฎหมายของประเทศและสภาพการใช้งาน) ทำาตามขั้น
ตอนที่แสดงไว้ที่ Petzl.com บันทึกผลการตรวจเช็ค PPE ลงในแบบฟอร์มการตรวจ
เช็ค ชนิด รุ่น ข้อมูลของโรงงานผู้ผลิต หมายเลขลำาดับการผลิต หรือหมายเลขกำากับ
อุปกรณ์ วันที่ของการผลิต วันที่สั่งซื้อ วันที่ใช้งานครั้งแรก กำาหนดการตรวจเช็คครั้ง
ต่อไป ปัญหาที่พบ ความคิดเห็น ชื่อของผู้ตรวจเช็คพร้อมลายเซ็นต์
ก่อนการใช้งานแต่ละครั้ง
ตรวจเช็คสายรัดที่แต่ละจุดผูกยึด ที่เข็มขัดปรับตำาแหน่ง และที่จุดเย็บติดกัน
ตรวจดูร่องรอยตัดขาด ชำารุด การเสียหายจากการใช้งาน จากความร้อน สัมผัสกับสาร
เคมี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจดูรอยตัดขาด หรือเส้นด้ายหลุดลุ่ย
เช็คให้แน่ใจว่า ตัวล็อค FAST LT และตัวล็อค FAST LT PLUS ยังคงใช้งานได้ตาม
ปกติ ตรวจเช็คตัวบ่งชี้การตก ตัวบ่งชี้จะแสดงให้เห็น ถ้าจุดผูกยึดได้ผ่านการตกกระชา
กด้วยแรงดึงมากกว่า 400 daN เลิกใช้สายรัดนิรภัยถ้ามองเห็นตัวบ่งชี้การตก
ระหว่างการใช้งาน
ตรวจดูอยู่เสมอว่า หัวเข็มขัดปรับสายรัด ได้สอดรัดไว้อย่างถูกต้อง เป็นเรื่องสำาคัญ
อย่างยิ่งที่ต้องตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์อยู่เป็นประจำา และการต่อเชื่อมอุปกรณ์
เข้ากับอุปกรณ์ตัวอื่นในระบบ แน่ใจว่าทุกชิ้นส่วนของอุปกรณ์อยู่ในตำาแหน่งที่ถูก
ต้องกับชิ้นส่วนอื่น
4. ความเข้ากันได้
ตรวจเช็คว่าอุปกรณ์นี้ สามารถใช้งานเข้ากันได้ดีกับอุปกรณ์อื่นในระบบที่เกี่ยวข้องกัน
(เข้ากันได้ดี = ใช้งานด้วยกันได้โดยไม่ติดขัด)
5. การติดตั้งชุดสายรัดนิรภัย
- มั่นใจว่าได้พับเก็บปลายของสายรัด (folded flat) ไว้ในช่องเก็บเรียบร้อยแล้ว
- ระวังสิ่งแปลกปลอมที่อาจขัดขวางการทำางานของหัวเข็มขัด FAST LT และ FAST
LT PLUS (เช่น ก้อนกรวด ทราย เสื้อผ้า) ตรวจเช็คว่าได้ติดยึดอย่างถูกต้องแล้ว
การปรับขนาดและทดสอบการยับยั้ง
ชุดสายรัดนิรภัยต้องปรับขนาดให้กระชับพอดีและให้ความสบายเพื่อช่วยลดอันตราย
ที่เกิดจากการบาดเจ็บกรณีที่มีการตก
ลองเคลื่อนไหวขณะสวมใส่สายรัดนิรภัยโดยห้อยตัวด้วยจุดยึดแต่ละจุด ด้วยอุปกรณ์
เพื่อตรวจเช็คว่าสายรัดกระชับได้ดี ให้ความรู้สึกสบายเหมาะสมในขณะใช้งาน และ
ได้ปรับขนาดพอดีแล้ว
เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถป้องกันได้ดีเพียงพอ ชุดสายรัดนิรภัยต้องปรับให้พอดีกับขนาด
รอบเอวของผู้ใช้งาน
ดูภาพอธิบายการปรับขนาดและการทดลองใช้
อย่าสวมใส่ชุดสายรัดนิรภัยที่ไม่สามารถปรับขนาดได้พอดีกับสรีระของคุณ ให้
ทดแทนด้วยขนาดอื่นหรือชุดสายรัดรุ่นอื่นที่เหมาะสม
6. ชุดสายรัดนิรภัยกันตก
6A. จุดเชื่อมต่อที่ตำาแหน่งหน้าอก
6B. จุดเชื่อมต่อเพื่อห้อยตัวที่ตำาแหน่งต้นคอด้านหลัง
6C. จุดผูกยึดแบบสิ่งทอที่ด้านหลังสำาหรับตัวยับยั้งการตกแบบดึงกลับ
จุดผูกยึดแบบสิ่งทอ ใช้สำาหรับเชื่อมต่อกับตัวยับยั้งการตกแบบดึงกลับเท่านั้น ต้อง
แน่ใจว่า ได้ทำาตามข้อแนะนำาการใช้งานของระบบที่ถูกจัดไว้ให้จากโรงงานผู้ผลิต
ใช้เฉพาะจุดผูกยึดเหล่านี้ติดยึดกับระบบยับยั้งการตก ตัวอย่างเช่น ตัวยับยั้งการตก
แบบเคลื่อนที่ได้ เชือกสั้นลดแรงตกกระชาก เพื่อความสะดวกในการระบุลักษณะ
เฉพาะ จุดเชื่อมต่อนี้จะบ่งบอกด้วยตัวอักษร ‘A’ จุดผูกยึดตำาแหน่งหน้าอก ประกอบ
ด้วยห่วงคล้องสองจุดที่ระบุด้วย A/2. ต้องแน่ใจว่าได้ใช้ห่วงคล้องสองจุดร่วมกันเสมอ
พื้นที่ปลอดภัย คือช่องว่างที่อยู่ด้านใต้ของผู้ใช้งาน
ระยะห่างด้านล่างของผู้ใช้งาน ต้องพอเพียงต่อการที่ผู้ใช้ไม่ไปกระแทกกับสิ่งกีดขวาง
ในกรณีที่มีการตก
ในการตก จุดผูกยึดเพื่อช่วยยับยั้งการตกจะยืดออกมา ด้วยการยืดนี้(โดยประมาณมาก
ที่สุดไม่เกิน 0.5 เมตร) โดยคำานวณจากระยะห่างระหว่างผู้ปฏิบัติงานกับพื้นด้านล่าง
ในการคำานวณระยะห่างจากการตก ให้คำานวณความยาวของตัวล็อคเชื่อมต่อใดๆ ที่
อาจมีผลต่อระยะทางของการตกด้วย
รายละเอียดของการคำานวณพื้นที่ปลอดภัย สามารถค้นหาได้จากข้อมูลทางเทคนิค
สำาหรับส่วนประกอบอื่น ๆ (เชือกสั้นดูดซับแรง ตัวยับยั้งการตกแบบเคลื่อนที่ได้...)
7. ชุดสายรัดนิรภัยเพื่อการคงตำาแหน่ง
ตำาแหน่งของจุดผูกยึด ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อใช้ป้องกันการตก จุดเชื่อมต่อนี้ถูก
ออกแบบมาเพื่อห้อยตัวผู้ใช้งานให้คงตำาแหน่งในพื้นที่การทำางาน หรือเพื่อช่วย
ป้องกันมิให้ผู้ทำางานพลัดตกเมื่อเข้าไปในบริเวณที่อาจมีการตกเกิดขึ้นได้
เชือกสั้นนิรภัยต้องตึงอยู่เสมอ
7A. จุดผูกยึดด้านข้างสายรัดรอบเอวสองข้าง
ใช้จุดยึดด้านข้างทั้งสองร่วมกันในการต่อเชื่อมกับเชือกสั้นดูดซับแรงในตำาแหน่งการ
ทำางาน เพื่อช่วยเพิ่มความสบายจากสายรัดรอบเอว
7B. จุดผูกยึดที่นั่งสำาหรับสายรัดสะโพก VOLT
ใช้จุดยึดด้านข้างทั้งสองร่วมกันในการต่อเชื่อมกับเชือกสั้นดูดซับแรงเพื่อคงตำาแหน่ง
การทำางาน เพื่อช่วยเพิ่มความสบายจากที่นั่ง คำาเตือน: ที่นั่งไม่สามารถใช้งานร่วมกัน
ได้กับชุดสายรัดนิรภัย VOLT WIND
8. การเกี่ยวรั้งและการกู้ภัย
จุดผูกยึดตำาแหน่งหน้าอก, จุดผูกยึดด้านหลัง และจุดผูกยึดที่เอวด้านหลังอาจใช้ในการ
เหนี่ยวรั้ง,เพื่อป้องกันผู้ใช้งานจากการเข้าไปในบริเวณที่อาจมีการพลัดตกเกิดขึ้นได้
จุดผูกยึดหน้าอก และห่วงโลหะผูกยึดที่ด้านหลังอาจใช้เพื่อการกู้ภัย
9. ห่วงแขวนตัวล็อคเชื่อมต่อปลายเชือกสั้นกันตก
ใช้สำาหรับเป็นห่วงยึดตัวล็อคเชื่อมต่อของปลายเชือกสั้นนิรภัยในกรณีที่ยังไม่ได้ถูก
ใช้งาน
ในกรณีที่เกิดการตก ห่วงแขวนจะปลดตัวล็อคเชื่อมต่อปลายเชือกสั้นลงมาเพื่อไม่ให้
เกิดการขัดขวางการฉีกออกของตัวดูดซับแรงกระชาก คำาเตือน จุดติดยึดนี้ไม่ใช่จุดติด
ยึดสำาหรับยับยั้งการตก
10. ห่วงคล้องอุปกรณ์
ห่วงคล้องอุปกรณ์ต้องใช้สำาหรับอุปกรณ์เท่านั้น
คำาเตือน อันตราย ห้ามใช้ห่วงคล้องอุปกรณ์เพื่อการคุมเชือก โรยตัว การผูกเชือกเพื่อ
ห้อยตัว หรือใช้เป็นจุดผูกยึดห้อยตัวคน
11. ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ANSI
- ข้อแนะนำาการใช้งานจะต้องเอื้ออำานวยต่อผู้ใช้อุปกรณ์นี้
- คู่มือการใช้งานของอุปกรณ์แต่ละชนิดที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์นี้ต้องปฏิบัติตาม
อย่างเคร่งครัด
- การวางแผนการช่วยเหลือ คุณจะต้องมีแผนการกู้ภัยและรู้วิธีการทำาได้อย่างรวดเร็ว
ในกรณีที่ประสบความยุ่งยากขึ้นในขณะที่ใช้อุปกรณ์นี้
- ข้อควรระวัง เมื่อใช้อุปกรณ์หลายชนิดร่วมกันอาจเกิดผลร้ายต่อความปลอดภัยใน
กรณีที่อุปกรณ์ชนิดหนึ่งถูกลดประสิทธิภาพลงด้วยส่วนประกอบเพื่อความปลอดภัย
ของอุปกรณ์ชนิดอื่น
- คำาเตือน สารเคมี ความร้อน คราบสนิม และรังสีอัลตราไวโอเล็ต สามารถทำาให้สาย
รัดนิรภัยเสียหายได้ ติดต่อ Petzl หรือตัวแทนจำาหน่ายถ้ามีข้อสงสัยเกี่ยวกับสภาพ
ของอุปกรณ์นี้
- คอยเฝ้าระมัดระวังเมื่อทำางานอยู่ใกล้กับแหล่งกำาเนิดไฟฟ้า เครื่องจักรที่กำาลังทำางาน
หรือสารกัดกร่อน หรือพื้นผิวที่มีความแหลมคม
12. ข้อมูลเพิ่มเติม
ควรยกเลิกการใช้อุปกรณ์เมื่อไร
ข้อควรระวัง ในกิจกรรมที่มีการใช้อย่างรุนแรงอาจทำาให้อุปกรณ์ต้องถูกเลิกใช้แม้หลัง
จากการใช้งานเพียงครั้งเดียวทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชนิดของการใช้งานและสภาพแวดล้อม
ของการใช้ (สภาพที่แข็งหยาบ สถานที่ใกล้ทะเล ขอบมุมที่แหลมคม สภาพอากาศที่
รุนแรง สารเคมี...)
อุปกรณ์จะต้องเลิกใช้ เมื่อ
- มีอายุเกินกว่า 10 ปี สำาหรับผลิตภัณฑ์พลาสติค หรือสิ่งทอ
- ได้เคยมีการตกกระชากอย่างรุนแรง หรือ เกินขีดจำากัด
- เมื่อไม่ผ่านการตรวจเช็คสภาพ เมื่อมีข้อสงสัยหรือไม่แน่ใจ
- เมื่อไม่ทราบถึงประวัติการใช้งานมาก่อน
- เมื่อตกรุ่น ล้าสมัยจากการเปลี่ยนกฏเกณฑ์มาตรฐานเทคนิค หรือ ความเข้ากันไม่ได้
กับอุปกรณ์อื่น
ทำาลายอุปกรณ์เพื่อป้องกันการนำากลับมาใช้อีก
สัญลักษณ์
A. อายุการใช้งาน 10 ปี - B. เครื่องหมาย - C. สภาพภูมิอากาศ ที่สามารถใช้งานได้
- D. ข้อควรระวังการใช้งาน - E. การทำาความสะอาด/ฆ่าเชื้อโรค - F. ทำาให้แห้ง - G.
การเก็บรักษา/การขนส่ง - H. การบำารุงรักษา - I. การดัดแปลงเพิ่มเติม/การซ่อมแซม
(ไม่อนุญาตให้ทำาภายนอกโรงงานของ Petzl ยกเว้นส่วนที่สามารถใช้ทดแทนได้)
- J.
คำาถาม/ติดต่อ
อุปกรณ์มีการรับประกันเป็นเวลา 3 ปี
เกี่ยวกับวัตถุดิบหรือความบกพร่องจากการผลิต ข้อยกเว้นจากการรับประกัน การ
ชำารุดบกพร่องจากการใช้งานตามปกติ ปฏิกิริยาจากสารเคมี การแก้ไขดัดแปลง การ
เก็บรักษาไม่ถูกวิธี ขาดการดูแล การนำาไปใช้งานที่นอกเหนือจากที่อุปกรณ์ได้ถูก
ออกแบบไว้
เครื่องหมายคำาเตือน
1. สถานการณ์เสี่ยงที่อาจจะเกิดอันตรายบาดเจ็บสาหัส หรือ เสียชีวิต 2. แสดงให้
เห็นถึงความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ หรือ การบาดเจ็บ 3. ข้อมูลสำาคัญที่เกี่ยวกับ
ประสิทธิภาพในการใช้งาน หรือคุณสมบัติของอุปกรณ์ 4. ความเข้ากันไม่ได้ของ
อุปกรณ์
เครื่องหมายและข้อมูล
a. หมายเลขรับรองที่ผ่านการทดสอบที่ใช้ในการควบคุมการผลิตของ PPE นี้ - b. องค์
ประกอบของมาตรฐานรองรับ - c. การสืบมาตรฐาน ข้อมูลแหล่งกำาเนิด - d. ขนาด
- e. หมายเลขลำาดับ - f. ปีที่ผลิต - g. เดือนที่ผลิต - h. หมายเลขลำาดับการผลิต - i.
หมายเลขกำากับตัวอุปกรณ์ - j. มาตรฐาน - k. อ่านคู่มือการใช้โดยละเอียด - l. ข้อมูล
ระบุรุ่น - m. ที่อยู่ของโรงงานผู้ผลิต - n. วันที่ของการผลิต (เดือน/ปี)
ภาคผนวก A - ANSI
ANSI/ASSE Z359 เป็นมาตรฐานที่ว่าด้วย การใช้งานอย่างเหมาะสม และการดูแลรักษาชุด
สายรัดนิรภัยแบบเต็มตัว
หมายเหตุ ข้อมูลนี้เป็นข้อกำาหนดทั่วไปของ ANSI/ASSE Z359 โรงงานผู้ผลิตอุปกรณ์
อาจต้องกำาหนดข้อมูลที่เข้มงวด เพื่อกวดขันการควบคุมการใช้อุปกรณ์ที่ผลิตมา โดยดู
จากคู่มือการใช้งานของผู้ผลิต
1. เป็นสิ่งสำาคัญ ที่ผู้ใช้อุปกรณ์ชนิดนี้ จะต้องได้รับการฝึกฝนและรู้วิธีการใช้งาน
อย่างพอเพียง รวมทั้งรายละเอียดของอุปกรณ์ เพื่อความปลอดภัยในการใช้อุปกรณ์ที่
เกี่ยวข้องกับการทำางาน ANSI/ASSE Z359.2 มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดการวางแผน
การป้องกันการตก กำาหนดคู่มือและสิ่งที่ต้องปฏิบัติของนายจ้างในการวางแผน
ป้องกันการตก รวมทั้งวิธีการ หน้าที่และการฝึกฝน ขั้นตอนการดำาเนินการป้องกัน
การตก การจำากัดและควบคุมความเสี่ยงต่อการตก วางแผนการกู้ภัย การตรวจสอบข้อ
เท็จจริงจากสิ่งที่เกิดขึ้น และการประเมินผล
2. การเลือกใช้สายรัดนิรภัยที่เหมาะสม เป็นส่วนประกอบที่สำาคัญที่ช่วยให้การทำางาน
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ใช้จะต้องได้รับการฝึกฝนและเลือกใช้สายรัดที่มีขนาดพอดี
และดูแลรักษาสายรัดนิรภัยให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานตลอดเวลา
3. ผู้ใช้ต้องทำาตามคู่มือการใช้งานของผู้ผลิตเพื่อความเหมาะสมของสภาพและขนาด
รวมทั้งการดูแลรักษาให้แน่ใจว่าการต่อยึดของหัวเข็มขัดอยู่ในตำาแหน่งที่ถูกต้อง
สายรัดขา และสายรัดไหล่อยู่ในตำาแหน่งที่ให้ความสบายตลอดเวลา สายรัดอกอยู่ใน
บริเวณส่วนกลางของหน้าอก และสายรัดขาได้จัดวางในตำาแหน่งที่สบายและหลีก
เลี่ยงต่อการไปเสียดสีต่ออวัยวะสืบพันธุ์หากมีการตกเกิดขึ้น
4. สายรัดนิรภัยเต็มตัวตามมาตรฐาน ANSI/ASSE Z359.11 ถูกเตรียมมาเพื่อใช้ร่วมกับ
ส่วนประกอบอื่นในระบบยับยั้งการตก เพื่อจำากัดค่าสูงสุดของแรงตกกระชากให้ไม่
เกิน 1800 ปอนด์ (8 kN) หรือน้อยกว่านั้น
5. การไม่อาจทนต่อภาวะการห้อยตัวเป็นเวลานาน ซึ่งถูกเรียกว่า ภาวะเลือดคั่งจาก
การห้อยตัวเป็นเวลานาน Suspension trauma หรือ Orthostatic intolerance นั้น
เป็นสภาวะร้ายแรงที่สามารถควบคุมให้ไม่เกิดขึ้นได้ด้วยการใช้สายรัดสะโพกที่ถูก
ออกแบบมาเป็นอย่างดี เอื้อให้สามารถกู้ภัยได้ง่าย และ มีระบบคลายตัวภายหลังจาก
การตก ผู้ใช้งานที่มีสติและรู้สึกตัวอาจจะปล่อยระบบคลายตัว เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งาน
ลดการรัดตึงรอบๆโคนขา ช่วยให้เลือดไหลเวียน ซึ่งสามารถช่วยหยุดยั้งอาการเลือด
คั่งจากการห้อยตัวอยู่ได้ ชิ้นส่วนสำาหรับผูกยึดที่ยื่นออกมานั้นไม่ได้ออกแบบมาเพื่อ
ติดโดยตรงเข้ากับจุดผูกหรือตัวล็อคเชื่อมต่อของจุดผูกสำาหรับการป้องกันการตก ตัว
ดูดซับแรงตกกระชาก ต้องใช้เพื่อจำากัดค่าสูงสุดของแรงตกกระชากให้ไม่เกิน 1800
ปอนด์ (8 kN) ความยาวของชิ้นส่วนที่ต่อยื่นออกมาอาจมีผลต่อระยะทางของการตก
และการคำานวณระยะห่างของการตก
6. สายรัดนิรภัยเต็มตัว (FBH) ยืดขยายออก จำานวนของส่วนประกอบ FBH ของระบบ
ยับยั้งการตกจะยืดขยายออกและผิดรูปร่างในขณะที่ตก ซึ่งมีส่วนต่อการขยายตัวของ
ระบบในการหยุดการตก เป็นสิ่งสำาคัญที่ต้องนับรวมการขยายเพิ่มของ FBH ที่เกิดขึ้น
เข้าในระยะทางของการตกด้วย เช่นเดียวกับความยาวของตัวล็อคเชื่อมต่อของ FBH
การติดยึด FBH กับตัวผู้ใช้งานและปัจจัยอื่นทั้งหมด ที่นำามาคิดคำานวณหาผลรวมของ
ระยะทางเพื่อเป็นองค์ประกอบในระบบยับยั้งการตก
7. ในขณะที่ไม่มีการใช้งาน ขาทั้งสองของเชือกสั้นดูดซับแรงที่ติดยึดอยู่กับ D-ring
ของสายรัดนิรภัย ไม่ควรติดยึดกับส่วนประกอบของตำาแหน่งการทำางาน หรือส่วน
ประกอบโครงสร้างอื่นๆของสายรัดนิรภัย นอกจากจะได้รับความยินยอมจากผู้ควบคุม
หรือจากโรงงานผู้ผลิตเชือกสั้นดูดซับแรงนั้น ข้อมูลนี้สำาคัญอย่างมากโดยเฉพาะใน
การใช้เชือกสั้นดูดซับแรงชนิด Y-style เพราะในบางกรณี [สภาวะ อันตราย] แรง
กระชากจะถูกส่งถึงตัวผู้ใช้งานผ่านทางขาของเชือกสั้นที่ยังไม่ได้ถูกใช้งาน ถ้ามันไม่
ถูกปลดออกจากสายรัดนิรภัย ตามปกติเชือกสั้นดูดซับแรงตกกระชากจะถูกติดอยู่ที่
บริเวณหน้าอก เพื่อช่วยลดอันตรายจากการผิดพลาดและการพันกันยุ่งเหยิง
8. ปลายสายรัดที่ปล่อยไว้หลวมๆ อาจไปเกี่ยวเข้ากับเครื่องจักร หรือเป็นต้นเหตุของ
อุบัติเหตุจากการปล่อยสายรัดโดยไม่ปรับให้กระชับเข้าที่ สายรัดนิรภัยเต็มตัว จะต้องมี
ที่เก็บปลายสายรัด หรือส่วนประกอบที่มีไว้เพื่อควบคุมปลายสายรัดที่ปล่อยออกมา
9. ตามลักษณะของห่วงคล้องแบบอ่อนนุ่ม แนะนำาให้ใช้เชื่อมต่อกับห่วงคล้องแบบ
อ่อนนุ่มด้วยกัน หรือกับคาราไบเนอร์เท่านั้น ห่วงล็อค snap hooks ไม่ควรใช้โดยไม่
ผ่านการรับรองให้ใช้งานโดยโรงงานผู้ผลิต
Sections 10-16 ได้อธิบายข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับตำาแหน่ง และการใช้จุดผูกยึดต่างๆ ที่มี
อยู่บน FBH
10. Dorsal จุดผูกยึดด้านหลัง
ส่วนประกอบของจุดผูกยึดตำาแหน่งด้านหลัง จะใช้เป็นจุดผูกยึดหลักในระบบยับยั้ง
การตก ยกเว้นมีข้อระบุให้เลือกใช้จุดผูกยึดอื่นแทน จุดผูกยึดด้านหลัง อาจใช้เพื่อการ
เกี่ยวรั้งเพื่อการเคลื่อนที่ไปมา หรือเพื่อการกู้ภัย ในขณะรองรับน้ำาหนักที่จุดผูกยึดด้าน
หลัง และเกิดการตกขึ้น สายรัดนิรภัยเต็มตัวถูกออกแบบให้แรงตกกระชากไปอยู่ที่
สายรัดไหล่ทั้งสองข้างที่ทำาหน้าที่รองรับตัวผู้ใช้งาน และรอบๆโคนขาทั้งสองข้าง การ
รองรับน้ำาหนักผู้ใช้งานจากการตก โดยจุดผูกยึดด้านหลัง จะมีผลให้ร่างกายอยู่ในแนว
ตั้งโดยโน้มเอียงไปด้านหน้า ด้วยแรงกระชากจะกดลงที่ตำาแหน่งต่ำากว่าไหล่ พิจารณา
อย่างถี่ถ้วนเมื่อจะเลือกใช้ระหว่างชิ้นส่วนจุดผูกยึดด้านหลังแบบเลื่อนได้ และ แบบ
อยู่กับที่ จุดผูกยึดด้านหลังแบบเลื่อนได้ จะง่ายต่อการปรับขนาดที่แตกต่างกันของผู้ใช้
งาน และช่วยผ่อนคลายในตำาแหน่งการตกแนวดิ่งได้มากกว่า แต่อาจเพิ่มการยืดขยาย
ของ FBH มากขึ้น
Содержание VOLT
Страница 1: ...TECHNICAL NOTICE VOLT VOLT WIND version internationale C0095800B 280819 1 ...
Страница 2: ...TECHNICAL NOTICE VOLT VOLT WIND version internationale C0095800B 280819 2 ...
Страница 3: ...TECHNICAL NOTICE VOLT VOLT WIND version internationale C0095800B 280819 3 ...
Страница 4: ...TECHNICAL NOTICE VOLT VOLT WIND version internationale C0095800B 280819 4 ...
Страница 5: ...TECHNICAL NOTICE VOLT VOLT WIND version internationale C0095800B 280819 5 ...
Страница 6: ...TECHNICAL NOTICE VOLT VOLT WIND version internationale C0095800B 280819 6 ...