4
ข้อควรระวังในการใช้งานลำโพง
(Speaker Precautions)
การจัดวาง:
• ตัวตู้ของลำโพงซับวูฟเฟอร์ทำมาจากไม้ ซึ่งจะค่อนข้างไวต่ออุณหภูมิ และความชื้นฉนั้น ไม่ควรวางลำโพงซับวูฟเฟอร์ไว้ในตำแหน่งที่โดน
แสงแดดโดยตรง หรือในตำแหน่งที่มีความชื้นสูง อย่างเช่น ใกล้กับเครื่องปรับอากาศ,เครื่องทำไอน้ำ, ห้องน้ำ หรือห้องครัว เป็นต้น
• ไม่ควรวางภาชนะบรรจุน้ำ หรือบรรจุของเหลวไว้ใกล้กับตำแหน่งที่วางลำโพง ถ้าของเหลวหกรดลงบนตู้ลำโพง อาจจะทำให้ตัวไดเวอร์
(ดอกลำโพง) เกิดความเสียหายได้
• ควรวางลำโพงไว้บนพื้นที่ที่มีความเรียบ แข็งแรง มั่นคง และปลอดจากคลื่นสั่นสะเทือน ซึ่งหากวางบนพื้นที่ที่ไม่เรียบแน่นและไม่มั่นคง
นอกจากอาจจะทำให้เกิดความเสียหายกับตัวตู้ของลำโพงอันเนื่องมาจากเกิดการลื่นไถลตกหล่นแล้ว ยังส่งผลทำให้คุณภาพเสียงแย่ลงด้วย
• ตัวตู้ของลำโพงซับวูฟเฟอร์ถูกออกแบบให้ใช้งานในลักษณะตั้งตรงเป็นมุมฉากกับพื้นเท่านั้น ห้ามใช้งานโดยวางตัวตู้ลงราบขนานกับพื้น
หรือเอียงเฉียงเป็นอันขาด
• ถ้าวางตัวตู้ลำโพงซับวูฟเฟอร์ไว้ใกล้กับเครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องเล่นแผ่นซีดี หรือเครื่องเล่นแผ่นดีวีดี/บลู-เรย์ฯ อาจจะทำให้เกิดเสียง
หวีดหอนขึ้นได้ เพื่อป้องกันปรากฏการณ์นี้ ให้เคลื่อนย้ายลำโพงซับวูฟเฟอร์ให้ห่างออกจากเครื่องเล่นแผ่นเสียง หรือเครื่องเล่นแผ่น
CD/DVD/Blu-ray ถ้าไม่หาย ให้ลดระดับความดังของลำโพงซับวูฟเฟอร์ลง
วางไว้ใกล้ตำแหน่งของทีวี หรือมอนิเตอร์ของคอมพิวเตอร์:
ทีวีกับมอนิเตอร์ของคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคที่ไวต่อคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งจะส่งผลเสียต่อภาพขึ้นได้เมื่อนำลำโพงไปวางไว้ใกล้ๆ
กับทีวีหรือมอนิเตอร์ของคอมพิวเตอรเพื่อป้องกันสิ่งนี้: ภายในตัวตู้ของลำโพงรุ่น SKF-370 กับรุ่น SKC-370/SKC-370C ได้์มีการติดตั้ง
วัสดุป้องกันการรั่วไหลของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเอาไว้ แต่ในบางสถานะการณ์ก็ยังอาจจะมีปัญหาสีเหลื่อมขึ้นได้เมื่อนำไปวางไว้ใกล้กับจอทีวีมากๆ
ในกรณีนี้ ให้ทำการปิดสวิทช์ของทีวีหรือมอนิเตอร์ ทิ้งไว้ประมาณ 15-30 นาที จากนั้นให้กดสวิทช์เปิดทีวีหรือมอนิเตอร์ขึ้นมาอีกครั้ง
ซึ่งโดยปกติแล้ว วิธีการนี้จะเป็นเทคนิคที่เรียกว่า “degaussingfunction” คือการปรับตัวทีวีให้พ้นจากการรบกวนของคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าด้วย
การทำให้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าอยู่ในสถานะที่เป็นกลาง (neutral) ลดการรบกวนลงไปได้ แต่ถ้าปัญหาสีเหลื่อมยังคงปรากฏอยู่แสดงว่าลำโพง
ยังอยู่ชิดกับทีวีมากเกินไป ให้ขยับลำโพงห่างออกมาจากทีวีทีละนิดจนกว่าปัญหาสีเหลื่อมจะหายไป
อย่าวางลำโพงรุ่น SKR-370 ไว้ชิดกับทีวี หรือมอนิเตอร์-คอมพิวเตอร์มากเกินไปเนื่องจากลำโพงรุ่นนี้ไม่มีระบบป้องกันการแพร่กระจายของคลื่น
แม่เหล็กไฟฟ้าจากภายในตัวตู้เอาไว้
คำเตือนเกี่ยวกับความแรงของสัญญาณอินพุต:
ตัวลำโพงสามารถรองรับกับสัญญาณอินพุตได้ในระดับมาตรฐานที่ใช้ในการสร้างเสียงดนตรีตามปกติ ในกรณีที่มีสัญญาณแทรกซ้อนไหลเข้าไปที่อินพุต
ของลำโพงแม้ว่าความแรงของสัญญาณอินพุตจะอยู่ในระดับปกติ แต่สัญญาณแทรกซ้อนที่เล็ดลอดเข้าไปจะพุ่งตรงไปที่ขดลวด (ว๊อยซ์คอย)
ของตัวไดเวอร์ฯ ซึ่งถ้ามากเกินไป อาจทำให้ขดลวดวอยซ์คอยเกิดความร้อนจนลุกไหม้ หรือเกิดความเสียหายขึ้นได้
ตัวอย่างลักษณะของสัญญาณแทรกซ้อนแบบต่างๆ ที่มีโอกาสที่จะเล็ดลอดเข้าไปทางช่องอินพุตของเพาเวอร์แอมป์:
1. สัญญาณรบกวนจากคลื่นสัญญาณ FM ที่ไม่ตรงกับความยาวคลื่นของสถานี
2. เสียงรบกวนจากการทำงานของระบบแมคคานิคของเครื่องเล่นเทปคาสเส็ทเมื่อใช้ฟังท์ชั่น Fast-Forward
3. แพร่มาจากเครื่องดนตรีไฟฟ้าที่เสียบปลั๊กไฟชุดเดียวกัน และอื่นๆ
4. สัญญาณรบกวนความถี่สูงที่เกิดจากภาคออสซิเลเตอร์ของตัวเครื่องเอง
5. สัญญาณ Test Tone จากแผ่น Test CD
6. เสียงช็อตอันเนื่องจากการถอดสายสัญญาณหรือต่อเชื่อมสายสัญญาณโดยไม่ปิดเครื่องก่อน
7. สัญญาณย้อนกลับจากไมโครโฟน