LALIZAS
22
TH
คําแนะนําสําหรับคู่มือการใช้งาน
เสื้อชูชีพ “ลาลิซัส” แบบพองลมสําหรับผู้ใหญ่ สามารถใช้งานกับผู้สวมใส่ที่มีน้ําหนักตั้งแต่ 40 กิโลกรัมขึ้นไป และมีขนาดรอบอก 70-150 ซ.ม.
และเสื้อชูชีพ “ลาลิซัส” แบบพองลมสําหรับเด็ก สามารถใช้กับผู้สวมใส่ที่มีน้ําหนักตั้งแต่ 25 กิโลกรัมขึ้นไปแต่ไม่เกิน 40 กิโลกรัม และมีขนาดรอบอก 60-90 ซ.ม.
อุปกรณ์ลอยน้ําส่วนบุคคล
ลักษณะงานที่ใช้
ประสิทธิภาพแรงลอยตัว
มาตรฐาน
วัตถุประสงค์หลักของการใช้งานเสื้อชูชีพนี้สําหรับการทํางานไกลชายฝั่งภายใต้สภาพแวดล้อมที่เลวร้ายรุนแรง
นอกจากนี้ยังเหมาะสําหรับผู้ที่จะต้องสวมใส่ชุดเสื้อดักอากาศและอาจส่งผลกระทบความจุอากาศที่ตอบสนองฉับ
พลันต่อระบบการปรับตําแหน่งตั้งขึ้นด้วยตนเองของเสื้อชูชีพ มันถูกออกแบบมาเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ใช้จะลอยอยู่ใน
ตําแหน่งที่ถูกต้องด้วยการที่ปากและจมูกของผู้สวมใส่จะต้องอยู่พ้นพื้นผิวน้ําเสมอ
275
ISO 12402-2:2006 /
Amd 1:2010
วัตถุประสงค์การใช้งานเสื้อชูชีพนี้สําหรับการใช้งานทั่วไป หรือสําหรับใช้เป็นเสื้อผ้าสวมใส่ในสภาวะอากาศที่
แปรปรวน เสื้อจะช่วยพยุงให้ผู้สวมใส่ที่หมดสติหมุนตัวกลับไปสู่ตําแหน่งที่ปลอดภัย โดยไม่จําเป็นต้องให้ผู้สวม
ใส่เป็นผู้กระทํา
150
ISO 12402-3:2006 /
Amd 1:2010
วัตถุประสงค์การใช้งานเสื้อชูชีพเพื่อไว้สําหรับคนที่ต้องรอคอยความช่วยเหลือ แต่มันก็เหมาะสมใช้สวมใส่เพื่อ
ป้องกันตัวจากเหตุตกน้ํา อุปกรณ์นี้ไม่ควรใช้งานในสภาวะอากาศที่แปรปรวน
100
ISO 12402-4:2006 /
Amd 1:2010 &
ISO 12402-6:2006 /
Amd 1:2010
รุ่นพองลมเสื้อด้วยมือเปิดท่อก๊าซ (ดูรูปที่ 1):
การพองลมทําได้ด้วยการใช้มือดึงสลักสีแดง เสื้อชูชีพจะทํางานสมบูรณ์เมื่อได้ทําการพองลมเต็มที่แล้ว ก่อนใช้งาน
ต้องตรวจสอบว่าท่อแก๊ส CO2 ขนาด 24 กรัมได้ถูกติดตั้งไว้กับเสื้อชูชีพผู้ใหญ่ที่มีระดับประสิทธิภาพ 100N หรือท่อแก๊ส CO2 ขนาด 33/38 กรัมได้ถูกติดตั้งไว้กับ
เสื้อชูชีพผู้ใหญ่ที่มีระดับประสิทธิภาพ 150N หรือท่อแก๊ส CO2 ขนาด 60 กรัมหนึ่งท่อได้ถูกติดตั้งไว้กับเสื้อชูชีพผู้ใหญ่ที่มีระดับประสิทธิภาพ 275N หรือท่อแก๊ส CO2
ขนาด 24 กรัมได้ถูกติดตั้งไว้กับเสื้อชูชีพสําหรับเด็ก
รุ่นที่พองลมเสื้อแบบเปิดท่อก๊าซอัตโนมัติ (ดูรูปที่ 2) /แบบอัตโนมัติ/รุ่นเปิดท่อก๊าซตามแรงดันน้ํา (โปรดดูในคู่มือแผ่นพับ):
เมื่อเสื้อชูชีพสัมผัสน้ําจะเปิดท่อ
ก๊าซเพื่อพองลมโดยอัตโนมัติ
Hammar:
ในการป้อนน้ําเสื้อชูชีพนี้จะไม่พองลมโดยอัตโนมัติเว้นแต่จะลดลงกว่าประมาณ 4 นิ้วหรือมากกว่านั้นในน้ํา ก่อนใช้งานต้อง
ตรวจสอบว่าท่อแก๊ส CO2 ขนาด 24 กรัมได้ถูกติดตั้งไว้กับเสื้อชูชีพผู้ใหญ่ที่มีระดับประสิทธิภาพ 100N หรือท่อแก๊ส CO2 ขนาด 33/38 กรัมได้ถูกติดตั้งไว้กับเสื้อ
ชูชีพผู้ใหญ่ที่มีระดับประสิทธิภาพ 150N หรือท่อแก๊ส CO2 ขนาด 60 กรัมหนึ่งท่อได้ถูกติดตั้งไว้กับเสื้อชูชีพผู้ใหญ่ที่มีระดับประสิทธิภาพ 275N หรือท่อแก๊ส CO2
ขนาด 24 กรัมได้ถูกติดตั้งไว้กับเสื้อชูชีพสําหรับเด็ก ไม่ว่าจะเกิดจากอะไรก็ตามหากถ้าระบบพองลมอัตโนมัติไม่ทํางาน ให้ใช้การพองลมด้วยมือดึงเปิดท่อก๊าซแทน
การพองลมด้วยการใช้ปากเป่าลม:
ให้เปิดฝาครอบท่อเป่าลมและใช้ปากเป่าลมผ่านท่อเป่าลม เมื่อพองลมเต็มแล้วให้ทําการปิดฝาครอบให้แน่น วิธีการใช้ปากเป่า
ลมนี้เป็นวิธีสํารองในกรณีที่การพองลมเสื้อด้วยมือ และ/หรือ ระบบพองลมด้วยก๊าซแบบอัตโนมัติไม่ทํางาน
ข้อความสําคัญ:
อุปกรณ์นี้จะไม่ช่วยให้คนลอยน้ําได้จนกว่าจะได้ทําการพองลมเต็มที่แล้ว ใช้ท่อแก๊ส CO2 ขนาด 24g หนึ่งท่อติดตั้งไว้กับเสื้อชูชีพผู้ใหญ่ที่มีระดับ
ประสิทธิภาพ 100N หรือแก๊ส CO2 ขนาด 33/38 กรัมติดตั้งไว้กับเสื้อชูชีพผู้ใหญ่ที่มีระดับประสิทธิภาพ 150N หรือท่อแก๊ส CO2 ขนาด 60 กรัมหนึ่งท่อติดตั้งไว้กับ
เสื้อชูชีพผู้ใหญ่ที่มีระดับประสิทธิภาพ 275N หรือท่อแก๊ส CO2 ขนาด 24 กรัมติดตั้งไว้กับเสื้อชูชีพสําหรับเด็ก ห้ามใช้ท่อเป่าลมด้วยปากเป่าลมบางส่วนเข้าไปในตัว
เสื้อชูชีพแล้วเปิดท่อแก๊ส CO2 เพื่อเติมลม เนื่องจากอาจทําให้เสื้อชูชีพเสียหายได้ ก่อนการใช้งานทุกครั้งต้องตรวจสอบเสื้อชูชีพแบบพองลมด้วยก๊าซ ให้ตรวจสอบ
อย่างระมัดระวังเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีความเสียหายใดๆ กับเสื้อชูชีพ ท่อแก๊ส CO2 ถูกติดตั้งเรียบร้อยและหมุนเกลียวยึดแน่น ตรวจสอบความพร้อมในการใช้งานของ
อุปกรณ์ปล่อยลม (ดูรูปที่ 1 และ 2) และสายเชือกกระตุกสําหรับปล่อยแก๊สด้วยมือห้อยอยู่อย่างอิสระ หมั่นฝึกหัดการใช้งานอุปกรณ์นี้ ลองสวมใส่เสื้อชูชีพเพื่อให้แน่ใจ
ในประสิทธิภาพก่อนนําไปใช้งาน ท่านสามารถใช้งานระบบท่อเป่าลมด้วยปากเพื่อพองลมเมื่ออยู่บนบกเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของเสื้อ มีนกหวีดติดตั้งมากับเสื้อ
ชูชีพด้วยแล้ว เพื่อใช้เป่าขอความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน ฝึกสอนให้เด็กๆ เรียนรู้วิธีการพองลมใช้งานเสื้อชูชีพ อาจทํางานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพหากสวมใส่เสื้อผ้า
ที่กันน้ําหรือด้วยสภาวะแวดล้อมอื่นๆ สําหรับเด็กที่มีอายุน้อยกว่าหกปีควรใช้อุปกรณ์ที่ทํางานพองลมโดยอัตโนมัติเท่านั้น
คําเตือน:
อุปกรณ์นี้เป็นเพียงการลดความเสี่ยงจากการจมน้ําเท่านั้น ไม่ได้รับประกันถึงการช่วยให้รอดชีวิตได้ ท่อบรรจุก๊าซเป็นสินค้าอันตรายและต้องเก็บไว้ห่างจาก
เด็ก และต้องไม่นําไปใช้ผิดวัตถุประสงค์
การใส่เสื้อชูชีพและการปรับแต่ง:
ต้องทําการทดลองและฝึกหัดการใช้อุปกรณ์นี้ก่อนนําไปใช้งานจริง สวมใส่เสื้อชูชีพตามคําแนะนําในคู่มือ (ดูรูปที่ 4) รัดเข็มขัดให้
แน่น ปรับแต่งสายรัดให้พอดี ทําตามวิธีที่ถูกต้องในการกระโดดลงไปในน้ําทะเลพร้อมกับสวมเสื้อชูชีพ (ดูรูปที่ 5) พยายามให้ร่างกายของท่านอยู่ในตําแหน่งตั้งตรง
เมื่อตกลงไปในน้ําเพื่อหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บอาจเกิดขึ้นได้ ไม่ควรกระโดดจากที่สูงกว่า 3 เมตร
วิธีการปล่อยลมเสื้อชูชีพ (ดูรูปที่ 6):
ปล่อยลมออกโดยเปิดฝาครอบท่อเป่าลมทางปาก ใส่จุกที่มีสายรัดอยู่กับฝาครอบท่อเป่าลมและเสียบค้างไว้ที่ลิ้นปิดเปิด ค่อยๆ
บีบเสื้อชูชีพเพื่อปล่อยลมภายในออก เมื่อลมออกหมดแล้วให้ปิดฝาครอบท่อเป่าลมไว้ตามเดิม
คําแนะนําในการทําความสะอาด:
ล้างเสื้อชูชีพด้วยน้ําจืดได้เป็นครั้งคราว แต่แนะนําให้ล้างด้วยน้ําทะเลหลังการใช้งานทุกครั้ง คราบสกปรกเช่น ไขมัน น้ํามัน หรือ
คราบที่คล้ายกันควรที่จะล้างออกด้วยน้ําสบู่อุ่น ไม่ควรนําเสื้อชูชีพของท่านเข้าเครื่องซักผ้าหรือเครื่องอบแห้ง ควรปล่อยให้แห้งตามธรรมชาติก่อนที่จะทําการเก็บ
คําเตือน:
สําหรับเสื้อชูชีพแบบพองลมอัตโนมัติ ต้องถอดอุปกรณ์เปิดท่อก๊าซออกก่อนทําความสะอาดเสื้อชูชีพ และติดตั้งกลับคืนให้เหมือนเดิมเมื่อเสื้อชูชีพแห้งสนิท
แล้ว
คําแนะนําการเก็บ:
ตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าเสื้อชูชีพแห้งสนิทและปล่อยลมออกจนหมดแล้ว ทําการพับเสื้อและตรวจสอบสายเชือกกระตุกเปิดการทํางานด้วยมือว่า
มีการห้อยอยู่อย่างอิสระ (ดูรูปที่ 7)
การใช้เข็มขัดรัดและเชือกป้องกัน:
เสื้อชูชีพได้ติดตั้งเข็มขัดรัดกับเชือกป้องกันที่สามารถใช้งานได้กับเชือกนิรภัยทั่วไปตามมาตรฐาน CE ที่ได้การรับรองมาตรฐาน
ISO 12401:2009 ส่วนเสื้อชูชีพที่ไม่มีอุปกรณ์สําหรับใช้งานรวมกับเชือกนิรภัยนั้น ควรสวมทับอีกชั้นด้วยเข็มขัดรัดตัวของ LALIZAS
คําเตือน:
เชือกนิรภัยและเชือกช่วยชีวิตเป็นอุปกรณ์ป้องกันไม่ให้ผู้สวมใส่พลัดตกจากเรือ อุปกรณ์นี้ไม่ได้ใช้ป้องกันผู้สวมใส่ตกจากที่สูง เชือกนิรภัยและเชือกช่วย
ชีวิตอาจส่งแรงสะบัดกระชากที่แรงมาก ควรคล้องขอเกี่ยวเชือกนี้กับจุดที่แข็งแรงหรือจุดผูกเชือกเท่านั้น มันไม่เป็นการปลอดภัยหากสวมเสื้อชูชีพแล้วไม่ผูกเชือก
นิรภัยหรือเชือกช่วยชีวิต และต้องผูกอย่างแน่นหนามั่นคงเพื่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพ
คําแนะนําการดูแลและเก็บรักษา:
ต้องเก็บเสื้อชูชีพไว้ในที่แห้งและไม่มีแสงแดดส่องถึงโดยตรง อย่าปล่อยให้เสื้อชูชีพถูกความร้อนมากเกินไป ห้ามนําไปใช้เป็น
เบาะรองนั่ง ตรวจสอบหากท่อก๊าซ CO2 มีรอยบุบหรือเสียหายต้องทําการเปลี่ยนใหม่ ตรวจสอบสภาพของเสื้อชูชีพ (ถุงลม หัวเข็มขัด นกหวีด สายรัด เข็มขัดและ
เชือกนิรภัย) หากทําเสื้อชูชีพหล่นหรือพบร่องรอยความเสียหายให้ติดต่อศูนย์บริการมาตรฐานใกล้บ้านท่านทันที ชิ้นส่วนอะไหล่ต่างๆ ต้องมีการเปลี่ยนหลังการใช้งาน
แต่ละครั้ง หรือ 3 ปีนับจากวันผลิต โปรดตรวจสอบจากวันที่ผลิตที่ตัวเสื้อหรืออุปกรณ์
คําแนะนําสําหรับการตรวจสภาพ:
เสื้อชูชีพของท่านควรได้รับการตรวจสภาพอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง (และควรเพิ่มความถี่มากขึ้น ในกรณีที่มีการใช้งานบ่อยครั้ง)
การเปลี่ยนอุปกรณ์: การถอดเปลี่ยนอุปกรณ์ของเสื้อชูชีพ ควรเลือกใช้ชุดอุปกรณ์ของ “ลาลิซัส” (ดูรูปที่ 1, รูปที่ 2 และรูปที่ 3): ท่านต้องเปลี่ยนท่อก๊าซ CO2 และแถบ
สลักพลาสติกสีเขียวอันใหม่ถ้าแถบสลักพลาสติกสีเขียวได้สูญหายไป (รูปที่ 1 และรูปที่ 2) และหากแถบสลักแสดงสถานะ (G) เป็นสีแดง (รูปที่ 2) ท่านต้องเปลี่ยนทั้ง
ชุดอุปกรณ์เปิดท่อ (D) และท่อก๊าซ CO2 ด้วย
อายุการใช้งานของเสื้อชูชีพ:
10 ปีนับจากวันที่ผลิต