310811
D
1)
มีข้อควรระวังที่ส าคัญหลายประการในการเดินเครื่องใช้งานและการบ ารุงรักษาส าหรับผู้ใช้งานและช่างซ่อม
บ ารุงรักษาอุปกรณ์ทดลองที่มีอุณหภูมิสูงในขณะที่เครื่องทดลองท างาน อากาศ ก๊าซ หรือน ้า จะมีอุณหภูมิและ
ความดันสูง ซึ่งสามารถก่อให้เกิดความเสียหายและเกิดอันตรายอย่างรุนแรงต่อนักศึกษาได้ ถ้าไม่ปฏิบัติตามข้อ
ควรระวังทางด้านความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด
2)
อย่าเดินเครื่องใช้งานอุปกรณ์ทดลองเกินกว่าค่าอุณหภูมิวิกฤติที่ก าหนดไว้ในคู่มือการใช้งาน
3)
ควรสอบเทียบเครื่องมือวัดต่าง ๆ เช่น เทอร์โมมิเตอร์ และ
Sensors
ตามก าหนดระยะเวลาตามปกติอย่างต่อเนื่อง
6.
หลักความปลอดภัยในการบ ารุงรักษา
1)
ในขณะที่ท าการบ ารุงรักษาจะต้องปลดกระแสไฟฟ้าที่จ่ายให้กับอุปกรณ์ทดลองออกก่อนเสมอ
2)
แขวนป้ายเตือนที่ระบุว่าอุปกรณ์อยู่ระหว่างการบ ารุงรักษาไว้ที่ตู้จ่ายไฟ เพื่อป้องกันบุคคลอื่นเข้ามายุ่งเกี่ยว
3)
ตรวจสอบการท างานของอุปกรณ์ป้องกัน คือ
ELBC
ว่ามันท างานถูกต้องตามข้อก าหนดของมัน เพื่อเป็นการ
ประกันความปลอดภัยของบุคคลที่ก าลังท างานอยู่กับอุปกรณ์นั้น อุปกรณ์ที่การท างานผิดพลาดจะต้องได้รับ
การแก้ไขโดยช่างไฟฟ้าผู้เชี่ยวชาญก่อนที่จะน าเครื่องทดลองนั้นกลับเข้าใช้งาน
4)
ตรวจให้แน่ใจได้ว่างานเสร็จสิ้นโดยเครื่องทดลองกลับคืนสู่สภาพเดิมทุกประการโดยไม่มีแผงก าบังหรือฝา
ครอบ เปิดค้างอยู่หรือไม่แน่นพอ และจะต้องไม่มีสิ่งแปลกปลอมใด ๆหรือเครื่องมือช่าง เช่น ไขควงหรือ
ประแจ เหลือทิ้งไว้อยู่ในเครื่องทดลอง
5)
ถ้ามีการใช้น ้ากับเครื่องทดลองนั้น จะต้องปฏิบัติตามข้อก าหนดเกี่ยวกับการป้องกันผลเสียที่จะเกิดจากจุลชีพ
ต่าง ๆ ด้วย
7.
สภาวะความปลอดภัยทั่วไปเมื่อเดินเครื่องใช้งานหรือบ ารุงรักษาเครื่องทดลอง
1)
ในระหว่างการเดินเครื่องใช้งานและการบ ารุงรักษาเครื่องทดลอง ความปลอดภัยและสุขอนามัย ของนักศึกษา
สามารถป้องกันได้หลายวิธี เช่นการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล
เป็นต้น
2)
อย่าสวมใส่เสื้อผ้าที่หลวมหรือรุ่มร่ามในห้องทดลอง เสื้อผ้าเช่นนั้นสามารถก่อให้เกิดอันตรายรุนแรงได้ ถ้ามัน
เข้าไปพันกับชิ้นส่วนของเครื่องทดลองที่มีการหมุน
3)
จะต้องสวมถุงมือเมื่อเคลื่อนย้ายวัตถุที่มีพิษ หรือสัมผัสกับส่วนที่มีอุณหภูมิสูง
4)
จะต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันหู เมื่อเครื่องทดลองนั้นมีเสียงดังในขณะเดินเครื่องใช้งาน
5)
จะต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันตา ถ้าการท างานนั้นอาจจะเกิดอันตรายกับดวงตาได้